5 ขั้นตอนปรับใจ ในวันว่างของวัยเกษียณ

เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ผู้สูงวัยบางคนเริ่มรู้สึกว่าตัวเองว่าง ไม่มีงานทำในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ไม่มีภาระ ไม่มีลูกหลานต้องเลี้ยง เป็นสูงวัยชีวิตโสด ยิ่งรู้สึกว่างมาก จนทำให้บางคนถึงกับเครียด ห่างไกลสังคมเดิม ไม่เข้าสังคมห่างเพื่อน เกิดอาการของโรคซึมเศร้าได้ หากทำตัวเข้าใกล้เส้นของเครียด หรือยอมให้ภาวะความเครียดมาคุกคาม เราจึงควรปรับกระบวนความคิดกันใหม่ เพื่อรับความสำเร็จและได้ใช้ชีวิตอยู่กับเป้าหมายที่มีอยู่อย่างมีความสุขตลอดไปในช่วงบั้นปลายชีวิต
ถามตัวเองอีกครั้ง ว่าเคยมีเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นคือ เรื่องอะไรและมีความเป็นไปได้แค่ไหน และลองย้อนมองดูว่าเป้าหมายนั้นให้อะไรกับชีวิต เพื่อจะได้ตั้งใจทำและเติมความมุ่งมั่นเป้าหมายนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เริ่มจากสิ่งเล็กๆ หากเรารู้ อยู่แก่ใจว่า เป้าหมายที่เราตั้งไว้ใหญ่เกินไป จนยากที่จะไปให้ถึง ลองพยายามลองทำจากสิ่งเล็กๆจุดเริ่มต้นเป็นเสต็ปให้สำเร็จเสียก่อน เพราะการที่เราตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป เมื่อพบเจอกับอุปสรรค เรามีโอกาสสูงในการพ่ายแพ้ต่อความรู้สึกและการที่ล้มเลิกความตั้งใจทำในที่สุด จึงแนะนำว่าควรหาเวลาเล็กๆน้อยๆ ทำสิ่งเล็กให้สำเร็จเสียก่อน เช่น การออกกำลังกายทุกวัน ก็ปลีกเวลาสัก 20 นาทีมาออกกำลังกายให้ได้ตามที่วางไว้เป็นเป้าหมายทุกวัน
ขยายเป้าหมาย ค่อยๆขยายเป้าหมายด้วยการเพิ่มความสำคัญของเป้าหมายนั้น แล้วจึงลงมือทำ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น การเริ่มตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนแปลงเรื่องในครอบครัวเล็กๆน้อยๆ แล้วจึงค่อยขยายเป้นเรื่องการงาน ต่อจากนั้นจึงค่อยพยายามขยายเป็นเรื่องทางสังคม
มีตัวช่วย แนะนำให้ทำ Mind Map สั้นๆง่ายๆเพราะตัวช่วยนี้ จะสามารถช่วยให้เรามองเป็นปัญหาและวิธีทางแก้ สุดม้ายยังช่วยให้เราประเมินความเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนแผนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การคิดบวกเสมอ เราต้องห้ามดูถูกศักยภาพตัวเอง และจงอย่ากลัวที่จะล้มเหลว เพราะความกลัวจะทำให้เป้าหมายในชีวิตต่ำเกินไป และจะทำให้เราขาดความมั่นใจในตัวเอง ยังก่อให้เกิดความเครียดสูง ไม่เป็นผลดีต่อชีวิตของคนวัยเกษียณ
ผู้สูงวัยในช่วงหลังเกษียณควรมีความตั้งใจจริงที่ลงมือทำ และควรหัดปล่อยวางให้เร็วเพื่อความสุขของใจเราค่ะ
: ที่มานิตยสารชีวจิต ฉบับ 1 มิ.ย. 2556 เรื่องโดยอัณณ์